นักวิทย์พัฒนา “หุ่นยนต์ชีวะจิ๋ว” ซ่อมแซมร่างกายมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ในประเทศสหรัฐฯ รายงานความสำเร็จ ของการสร้างหุ่นยนต์ชีวภาพขนาดจิ๋วขึ้นจากเซลล์ของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคโดยเฉพาะการเจ็บป่วยที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย

ผลงานดังกล่าวเป็นการวิจัยพัฒนาของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทัฟต์ส (Tufts University) และสถาบันวิสส์ (Wyss Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานค้นคว้าด้านวิศวกรรมชีวภาพของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐ โดยเซลล์ที่นำมาทดลองคือเซลล์จากส่วนของหลอดลมมนุษย์จากทุกช่วงอายุและเพศ

รู้จัก “ปรากฏการณ์สตีฟ” ปรากฏการณ์หายาก คล้ายแสงออโรราแต่ไม่ใช่

ลูกข้าใครอย่าแตะ ฝูงช้างป่ารุมเหยียบรถยนต์ หลังขับไปชนลูกช้างในฝูง

สยอง! แมงมุมวางไข่ในนิ้วเท้าคน และหนึ่งฟองในนั้นฟักออกมาเป็นตัว คำพูดจาก เครื่องสล็อต

ทีมนักวิจัยตั้งชื่อหุ่นยนต์จิ๋วนี้ว่า “แอนโทรบอตส์” (Anthrobots) โดย กีเซม เกมุซสกายา นักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส ที่ร่วมทำงานวิจัยชิ้นนี้ ระบุว่าแอนโทรบอตส์คือหุ่นยนต์ชีวภาพชนิดแรกที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด และสร้างจากเซลล์ในร่างกายมนุษย์ แต่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเครื่องจักร

การวิจัยและพัฒนาแอนโทรบอตส์มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้หุ่นยนต์ชีวภาพจิ๋วที่ผลิตจากเซลล์ของคนไข้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูส่วนต่างๆในร่างกายที่เสื่อมสภาพและรักษาโรคอื่นๆ ซึ่งเกมุซสกายา ระบุว่าการศึกษาพบว่าหุ่นยนต์ชีวะจิ๋วนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มเซลล์ประสาทของมนุษย์ที่ได้รับความเสียหายและซ่อมแซมเซลล์เหล่านี้ได้ในระยะเวลา 3 วัน

สำหรับแอนโทรบอตส์เป็นการต่อยอดจากการวิจัยพัฒนา “ซีโนบอตส์” (Xenobots) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ชีวภาพขนาดจิ๋วเช่นกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ซีโนบอตส์สร้างจากเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ หรือเอมบริโอ ส่วนแอนโทรบอตส์สร้างได้จากเซลล์ของมนุษย์ในวัยผู้ใหญ่ โดยไม่ต้องดัดแปลงพันธุกรรม จึงไม่มีส่วนใดเลยที่เป็นเครื่องจักรจริงๆ หรือมีสายไฟฟ้าติดตั้งอยู่

คุณสมบัติดังกล่าว ทำให้แอนโทรบอตส์มีจุดเด่นตรงที่สามารถเข้ากับเนื่อเยื่อชนิดอื่นๆ และร่างกายของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยลดปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถผลิตจากเซลล์ของผู้ป่วยได้เอง

โดยทีมนักวิจัยหวังว่าแอนโทรบอตส์จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในหลายๆด้าน ทั้งการกำจัดตะกรันไขมันในผนังหลอดเลือด การซ่อมแซมกระดูกสันหลัง หรือประสาทตาที่ได้รับความเสียหาย การตรวจหาเชื้อแแบคทีเรีย หรือ เซลล์มะเร็ง และการพาตัวยาสู่จุดที่เป็นเป้าหมายของการรักษา

ภาพจาก Reuters