Tag ตรวจหวยวันที่ 30 ธันวาคม สูตรหวยยี่กี lottovip ตัวเดียว

สิงคโปร์กู้ระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสั่งอพยพหลายพันคน

ระเบิดนี้มีน้ำหนัก 100 กก. คาดว่าเป็นระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ระเบิด ถูกขุดพบเมื่อสัปดาห์ก่อนในพื้นที่ก่อสร้างคอนโดมิเนียมในย่านบูกิตติมาห์ (Bukit Timah) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดจากกองทัพสิงคโปร์ประเมินว่า การเคลื่อนย้ายระเบิดลูกนี้นั้นไม่ปลอดภัย และจะดำเนินการกำจัดแบบควบคุม

ก่อนปฏิบัติการ ทางการได้สั่งอพยพประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 4,000 คน ไปยังที่ปลอดภัย และกั้นพื้นที่โดยรอบรัศมี 200 ม. พร้อมกับเตือนประชาชนว่า ไม่ต้องตกใจกับเสียงระเบิดที่เกิดขึ้น

คอมมานโดฝรั่งเศสยุคสงครามโลก เสียชีวิตในวัย 100 ปี

กัมพูชาสั่งปิด รร.ชั่วคราว หลังพบระเบิดเก่าสมัยสงครามหลายพันลูก

ขณะที่หน่วยงานขนส่งทางบกของสิงคโปร์ระบุว่า ขบวนรถไฟสายดาวน์ทาวน์จะหยุดวิ่งชั่วคราวระหว่างที่มีปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ปฏิบัติการจุดระเบิดแบบควบคุมเริ่มต้นเมื่อเวลา 11.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยเป็นการจุดระเบิดสองครั้ง ก่อนที่ในเวลา 12.45 น. ตำรวจสิงคโปร์จะรายงานความคืบหน้าว่า หน่วยอีโอดีกำจัดระเบิดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

ขณะนี้ สำนักงานอาคารและการก่อสร้าง คณะกรรมการสาธารณูปโภค และหน่วยงานขนส่งทางบกของสิงคโปร์ กำลังตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้าง ถนน ท่อระบายน้ำและท่อประปา รวมถึงอาคารที่พักอาศัย เพื่อประเมินความปลอดภัย ระเบิดลูกนี้เชื่อว่าเป็นระเบิดสมัยสงครามลูกใหญ่ที่สุดลูกหนึ่งที่เคยพบในสิงคโปร์ โดยสื่อท้องถิ่นระบุว่า ระเบิดลูกดังกล่าวน่าจะมีดินระเบิดอยู่ประมาณ 47 กก. ซึ่งมากพอที่จะทำลายอะพาร์ตเมนต์ได้ทั้งบล็อก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินรบญี่ปุ่นทิ้งระเบิดใส่สิงคโปร์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 1941 หรือหนึ่งวันหลังจากญี่ปุ่นโจมตีกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ในเพิร์ลฮาร์เบอร์ สิงคโปร์ถูกทิ้งระเบิดหนักหน่วงขึ้นในเดือนม.ค. 1942 ก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะเริ่มรุกรานสิงคโปร์ในวันที่ 8 ก.พ. และยึดเกาะได้สำเร็จ หลังสู้รบกัน 1 สัปดาห์

ภาพจาก AFP

"ผู้การฯแต้ม" ลั่น ห่วง"บิ๊กโจ๊ก"ถ้าเส้นทางการเงินชัด

เปิดประวัติ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ดาวรุ่งพุ่งแรงสู่หนทางวิบากเอี่ยวเว็บพนัน

โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 26 ก.ย. 66

ปิดโครงการ "อบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา" คนข่าวทุกภูมิภาค ลุ้นมีต่อยอด

ปิดโครงการ “อบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา” หลังประสบความสําเร็จในการจัดอบรมให้ความรู้สื่อมวลชน 4 ครั้ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

20 เม.ย.2566 เวลา 14.00 น.สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำการปิดโครงการ “อบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา” โดยมี ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา เป็นประธาน พร้อมด้วย นายวันกล้า ขวัญแก้ว นายกสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์, นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, นายมนูญ อุทะกะวารี ประธานโครงการ และ นายทีปกร โกมลพันธ์พร อัยการประจำสำนักอัยการสูงสุด เข้าร่วม

ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน รองประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา กล่าวว่า "ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา ซึ่งดูแลในด้านกีฬา รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วงการกีฬาในทุกฝ่าย ได้มีการพัฒนาขึ้นแบบเป็นระบบ ผ่านการอบรมทั้ง 4 ครั้งของทางสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ร่วมกันสร้างโครงการดีๆ แบบนี้ให้เกิดขึ้นจริง เป็นประโยชน์แก่ผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้องโดยตรง รวมถึงบุคคลที่สนใจ ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ยิ่งเฉพาะสื่อออนไลน์ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ยังคงขาดความเข้าใจในเรื่องนี้อยู่ และหวังว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นอีกในครั้งต่อ ๆ ไป”

ปิดโครงการ "อบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา" คนข่าวทุกภูมิภาค ลุ้นมีต่อยอด คำพูดจาก สล็อต777

นายวันกล้า ขวัญแก้ว นายกสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ เปิดเผยถึงโครงการที่จบไปว่า"ในนามของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาออนไลน์ เรามีวัตถุประสงค์หลักอยู่แล้วในการมอบความรู้ความให้แก่เพื่อนสมาชิก สอดคล้องกับโครงการอบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในครั้งนี้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้จากวิทยากร จะช่วยสร้างประโยชน์ ให้เพื่อนๆ สื่อมวลชน ได้นำความรู้ และเทคนิคต่างๆ ในการผลิตข่าวสาร เพื่อนำเสนออย่างสร้างสรรคและเป็นส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยแก่สังคมในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

นายมนูญ อุทะกะวารี ประธานโครงการ เปิดเผยก่อนปิดโครงการว่า"โครงการอบรมทักษะรู้เท่าทันสื่อกีฬา ได้มีการจัดทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ ภาคกลางเเละภาคตะวันตก ที่ จ.ราชบุรี, ภาคใต้ ที่จังหวัดภูเก็ต, ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคตะวันออกเเละตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดผู้สนับสนุนจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมาธิการกีฬาวุฒิสภา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การกีฬาแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาการกีฬา รวมทั้งวิทยากรทุกท่าน และพี่น้องสื่อมวลชนจากทุกภูมิภาคที่เข้าร่วม จนทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้"

นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า "ในฐานะตัวแทนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการอบรมครั้งนี้ ถูกผลักดัน และทำให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโครงการนี้ เพื่อมุ่งหวังที่สร้างความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัย เป็นบรรทัดฐานให้คนที่ติดตามข่าวสารในช่องทางต่างๆ ได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง ไม่ชี้นำไปสู่ความเข้าใจผิดใดๆ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสื่อออนไลน์ หรือคนที่เกี่ยวข้องในวงกว้างจากทั้ง 4 ครั้งของการอบรม และหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่เหมาะสมผ่านการนำเสนอที่ถูกต้องของสื่อต่อไป"